หลักสูตรฐานสมรรถนะ หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรสถานศึกษา …จะไปได้ไกลแค่ไหน?

Published by piyakorn.lak on

เราเชื่อว่าตอนนี้หลายคนคงมีคำถามในใจ “หลักสูตรฐานสมรรถนะ หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรสถานศึกษา จะไปได้ไกลแค่ไหน?”

 

สิ่งแรกคือ การตอบคำถามว่า “ตอบโจทย์” ชีวิตจริงได้มากน้อยแค่ไหน?  — ไม่ใช่ชีวิตในระบบฐานข้อมูลของโรงเรียน สู่เขตพื้นที่ สู่ Database ของกระทรวงศึกษาธิการ แต่เป็นการดำรงอยู่ในสังคมไทย สังคมโลก แบบกินดี อยู่ดี

 

 

วันนี้ เป็นที่ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่า โฉมหน้าการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยจะเริ่มใช้หลักสูตรใหม่ ที่เรียกว่า “หลักสูตรฐานสมรรถนะ” หรือ “Competency-based Curriculum” — เป็นชื่อใหม่ที่เราจะใช้ แต่ไม่ใช่ชื่อใหม่ในโลก

 

Competency ก็มาจาก Skills หรือพูดให้ชัดคือ Set of Skills ต้องมี Skill หรือทักษะมากกว่า 1 เพื่อทำอะไรบางอย่าง

และแน่นอนว่า ทักษะที่ดี ย่อมมี ความรู้เป็นองค์ประกอบ แถมด้วย Attitude หรือ เจตคติที่ดีต่อสิ่งที่จะทำหรือต้องทำ

 

 

จะทำ “แกงกะหรี่” ให้อร่อย
Knowledge – ต้องรู้ว่า ส่วนผสม คืออะไร? วิธีทำ เป็นยังไง? — นี่คือ องค์ความรู้

 

Skills – ทดลองทำ ฝึกทำบ่อยๆ จนได้แกงกะหรี่ที่อร่อย  ซึ่งระหว่างการฝึก การทดลอง เราอาจได้สูตรใหม่ เปลี่ยนส่วนผสม, เปลี่ยนขั้นตอน, เปลี่ยนระยะเวลาที่ใช้ เพื่อให้ได้แกงกะหรี่ที่อร่อย — อร่อยสำหรับใคร ก็ต้องมาดูอีกที เหมือนในชีวิตจริง

 

          อร่อยสำหรับ ตัวเอง – ตัวเองมีความสุข    

          อร่อยสำหรับครอบครัว – ครอบครัวแฮปปี้

          อร่อยสำหรับครู – เกรดดี

          อร่อยสำหรับเพื่อน – เริ่มมีโอกาสการขาย สร้างรายได้

          อร่อยสำหรับลูกค้า – เริ่มมีโอกาส “รวย”

 

Attitude – ถ้าเราไม่ได้อยากทำแกงกะหรี่ การทดลองทำ การฝึกทำ ก็อาจจะไม่มีเยอะเท่าที่ควร  โอกาสที่จะทำได้อร่อย ก็อาจจะน้อยลงไป  [ ยกเว้น เรามีพรสวรรค์มากกก เป็นเด็ก Gifted … ห้องพิเศษ ]  และโอกาสที่จะพัฒนาสูตร หรือทำขาย สร้างรายได้จากแกงกะหรี่ ก็คงน้อยลงไปอีก

 

ซึ่งในชีวิตจริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร (นักเรียน) ทุกคนแค่ต้องค้นหา “แกงกะหรี่” ของตัวเองให้เจอ

 

 

กลับมาที่คำถามใหญ่ของ หลักสูตรใหม่ ที่จะเริ่มใช้ในการศึกษาไทย ว่า การสนับสนุนที่รัฐจะมอบให้ เอื้ออำนวยให้นักเรียนทุกคนสามารถค้นหาแกงกะหรี่ของตัวเองแล้วหรือยัง?

 

 

ความอร่อยของคุณครู จะมีมาตรฐานเดียวกันได้หรือไม่ >>> ระบบการประเมิน จะเป็นอย่างไร?

หากจะให้อิสระ ก็จะมีคำถามถึง “มาตรฐาน” 

หากจะมี “มาตรฐาน” ก็ต้องดูว่า ยืดหยุ่นพอมั้ย หรือเหมาะสมมั้ย กับ Socio-economic Circumstance (สภาวะเศรษฐกิจและสังคม) ของแต่ละที่ —- ซึ่งงานนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายจริงๆ

 

 

จากการชี้แจงล่าสุดของกระทรวงศึกษาธิการ ถึงการนำร่องใช้งานหลักสูตรใหม่  มีการพูดถึง “ท้องถิ่น” และ “หลักสูตรสถานศึกษา” ที่เชื่อมโยงกับ การพัฒนาหรือการใช้ “หลักสูตรฐานสมรรถนะ”

 

2 เรื่องที่กล่าวมา ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่เช่นกัน

 

ย้อนไปเมื่อปี 2559 (2016) ก็มีการผลักดัน นำร่องการพัฒนาการศึกษาโดยใช้ “พื้นที่” เป็นฐาน หรือ Area-based Education ครอบคลุม 14 จังหวัด — คาแร็คเตอร์ที่เลือก ก็จะคล้ายคลึงกับ “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” อยู่ไม่น้อยในแง่ของ “ความพร้อม”

แต่….Hi-light วัตถุประสงค์หลักที่พาดหัวข่าวจะต่างกัน

 

วัตถุประสงค์หลักของ Area-based Education คือ ลด ความเหลื่อมล้ำในการศึกษา อันเกิดจากความเหลื่อมล้ำในด้านสังคมและเศรษฐกิจ (Socio-economic Disadvantage)

 

1) อยากให้นักเรียน ได้เรียน และจบมาทำงานในพื้นที่ตัวเอง ลดการกระจุกตัวในเมือง (กทม.)

 

2) ให้ผู้เรียนจบมาทำงานในพื้นที่ เพื่อพัฒนาพื้นที่(บ้านเกิด) ให้เจริญ ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างเมืองหลวงและเมืองอื่น

 

ซึ่งเราก็จะเห็นโครงการย่อยๆ ที่สนับสนุนแนวคิดนี้ออกมาในแต่ละปี รวมถึง โครงการ “โรงเรียนดีประจำตำบล”  “โรงเรียนดีสี่มุมเมือง” เป็นต้น

 

หลักแนวคิด “กระจายความเจริญ” อยู่ในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศมานานแสนนาน

 

พอต่อยอดมายังหลักสูตรการศึกษา ซึ่งจริงๆ เป็นแนวทางที่ถูกต้อง เพราะทุกการพัฒนาควรเริ่มจากการศึกษา (ที่ดี)

เราก็จะได้เห็น การ Implement หรือ การปรับใช้ปฏิบัติจริง แตกต่างกันบ้าง

 

สำหรับการศึกษาสายอาชีพ หรืออาชีวศึกษา Area-based Education ค่อนข้างชัดเจน และตอบโจทย์พอสมควร ด้วยแนวคิด “การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” 

 

ทรัพยากรในนี้นี้ รวม ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ (นักเรียนและครู)      

 

 

Mega Project โครงการใหญ่ที่เห็นชัดเป็นรูปธรรม และประสบความสำเร็จที่สุด โดยที่คนอาจไม่ทันคิดว่ามีความเชื่อมโยงกับ Area-based Education คือ โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) หรือ Eastern Economic Corridor แผนยุทธศาสตร์ภายใต้ Thailand 4.0 โดยมีหัวเรือใหญ่คือ ปตท.

 

จากความต้องการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจใหญ่ระดับภูมิภาค จากความพร้อมต้นทุนเดิม ท่าเรือน้ำลึก, แหล่งก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ฯลฯ รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ร่วมมือกับเอกชน ลงทุนเพิ่มเติมเข้าไป ทั้งระบบขนส่ง, สาธารณูปโภค, เทคโนโลยี ทุกอย่างคือความพร้อมพื้นฐานตอบโจทย์ ไทยแลนด์ 4.0  โดยสุดท้ายไม่ลืม “การศึกษา”

 

โรงเรียนกำเนิดวิทย์ เป็นตัวอย่างที่ดีของการลงทุนเพื่อการศึกษา ที่ตอบโจทย์พื้นที่ในแง่ Socio-economics อย่างแท้จริง

  • Area-based Education
  • School Curriculum    

 

เราทำได้ ใครก็ทำได้ … ถ้าระบบ Support พร้อม

 

แต่หากระบบ Support ไม่พร้อม สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา คืออะไร?
“ความเหลื่อมล้ำ” ที่เคยมี ก็จะยิ่งมีมากขึ้นกว่าที่เคย

 

 

ผลงานวิจัยของ Oxford  ในปี 2017 ได้ข้อสรุปคล้ายคลึงกันนี้ ความแตกต่าง เหลื่อมล้ำ จะยิ่งมากขึ้น หากรัฐเลือกสนับสนุนแค่ “บางพื้นที่” ที่ดูมีศักยภาพ  พื้นที่อื่นๆ ที่เคยอยู่นอกสายตา และไม่ได้รับความช่วยเหลือก็จะยังคงอยู่ในจุดนั้นต่อไป     

 

          “The outside Area-based Initiatives (ABIs) are able to operate strategically and over the long-term, rather than being bound by the short-term nature of policy-making.”  — นี่คือคำแนะนำจากผลการวิจัย 

https://oxfordre.com/education/view/10.1093/acrefore/9780190264093.001.0001/acrefore-9780190264093-e-160

 

” The outside ABIs หมายถึง นอกพื้นที่นำร่อง ”  

 

และนี่ คือโจทย์ใหญ่จริงๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ กับการปรับหลักสูตรใหม่ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย

 


เชื่อว่า หลายโรงเรียน อาจเริ่มพิจารณา มองๆ กันแล้ว ถึงการรวบรวมองค์ความรู้และทักษะ
(Knowledge & Skills) ของ “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” ที่มี Outcomes ออกมาในรูปของ “สินค้า OTOP”  

 

คัดเลือกและพัฒนาต่อยอด ด้วยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี (STEM) เพื่อผลักดันสถานศึกษาในเขต ในกลุ่ม ในพื้นที่ เข้าสู่ “สายตาสังคม” เพื่อรับการสนับสนุนที่มากขึ้นจนสามารถกลายเป็นโรงเรียนชั้นนำได้

 

ระหว่างที่รัฐ ยังหา Best Practice ที่ตอบโจทย์กับทุกระดับไม่ได้

สิ่งที่ครูทำได้ คือ การพยายามด้วยตัวเอง เพื่อรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอน

 

 

MAC Education พร้อมเดินทางร่วมกับคุณครูทุกคน

เราไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนาสื่อประกอบการสอน กิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะตอบโจทย์การพัฒนาทักษะและสมรรถนะผู้เรียน โดยไม่ทิ้ง “ความรู้” ที่เป็นหัวใจสำคัญ 

 

แบบฝึกหัดและการประเมินในรูปแบบต่างๆ ได้รับการออกแบบโดยอ้างอิงจากหลักการของการพัฒนาสมรรถนะ โดยไม่ลืมใส่เจตคิตที่ดีลงไป  เพื่อให้ผลลัพธ์ของการศึกษาได้มากกว่าการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ แต่คือการเป็นคนดีและเป็นพลเมืองที่ดีในสังคม

 

พร้อมเดินก้าวเข้าสู่อนาคตไปด้วยกันนะคะ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
All search results