New Normal – การศึกษาใหม่

Published by admin on

New Normal – การศึกษาใหม่

ที่ทุกคนต้องปรับตัว !               

         “คำว่า New Normal จริงๆ คำนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว ซึ่งจุดเริ่มต้นมาจากการพูดถึงสภาวะเศรษฐกิจสมัยวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ราวปี 2007 เมื่อเศรษฐกิจได้เติบโตไปถึงจุดจุดหนึ่งแล้ว จะมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และหลังจากนั้นเศรษฐกิจก็จะเริ่มฟื้นตัว แต่ไม่สามารถกลับมาเติบโตเหมือนเดิมได้อีก ซึ่งสถานการณ์ COVID-19 ทำให้กระแสของ คำว่า New Normal ถูกนำมาพูดถึงอีกครั้ง

        เมื่อไม่นานมานี้ ราชบัณฑิตยสภา ได้บัญญัติศัพท์ให้คำว่า New Normal แปลว่า ความปกติใหม่ , หมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย

       รูปแบบวิถีชีวิตใหม่นี้ ประกอบด้วยวิธีคิด วิธีเรียนรู้ วิธีสื่อสาร วิธีปฏิบัติและการจัดการ การใช้ชีวิตแบบใหม่เกิดขึ้นหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงและรุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้มนุษย์ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันมากกว่าจะธำรงรักษาวิถีดั้งเดิมหรือหวนหาถึงอดีต”

 

        บทความนี้จึงขอพูดถึงการปรับตัวรูปแบบใหม่ของสถานศึกษา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราทุกคนจะต้องตื่นตัวและทำความเข้าใจ เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรน่าไปสู่ลูกหลานของเรา  มาดูกันว่าสำหรับสถานศึกษานั้นต้องรับมือ และปรับตัวกันอย่างไร

โรงเรียน

  1. ควรเตรียมความพร้อมแต่เนิ่นๆ เพื่อซ่อมแซม ปรับปรุง ทำความสะอาด พื้นที่และอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อ่างล้างมือ ห้องน้ำให้พร้อมใช้งาน รวมถึงสบู่ล้างมือที่เพียงพอ จัดสถานที่เพื่อเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เช่น การเข้าแถว การเข้าคิว การจัดที่นั่งเรียน การจัดที่นั่งรับประทานอาหาร ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางกายภาพ (Physical Distancing) คำแนะนำระยะห่างปลอดภัยโควิด-19 องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า ระยะห่างทางกายภาพว่าเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ควรเว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไอ จาม และมีไข้ เพื่อป้องกันการรับเชื้อโรค
  2. เมื่อเปิดภาคเรียนต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวโรงเรียนทุกวัน อย่างน้อยวันละครั้ง โดยเฉพาะพื้นผิวที่หลายคนสัมผัส เช่น ราวบันได โต๊ะอาหาร อุปกรณ์กีฬา ที่จับประตู หน้าต่าง ของเล่น เครื่องช่วยสอน อุปกรณ์ การเรียน เป็นต้น ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือน้ำยาซักผ้าขาว 2 ฝา ต่อน้ำ 1 ลิตร (โซเดียมไฮโปคลอไรท์(Sodium hypochlorite) 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร) สำหรับการฆ่าเชื้อพื้นผิว ใช้เอทิลแอลกอฮอล์(Ethyl Alcohol) 70% สำหรับการเช็ด ฆ่าเชื้อโรคของชิ้นเล็กๆ ฯลฯ

 

ครูและบุคลากร

  1. ต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง ส่งเสริมให้นักเรียน เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงาน ทุกคนล้างมืออย่างถูกวิธีด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม และหลังเล่นกับเพื่อน หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น
  2. สอนและส่งเสริมให้นักเรียนมีของใช้ส่วนตัว เช่น แก้วน้ำ แปรงสีฟัน อุปกรณ์รับประทานอาหาร ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น พร้อมให้ความรู้ คำแนะนำ หรือจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์ การป้องกันและลดความเสี่ยงให้แก่นักเรียน เช่น สอนวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง การใส่หน้ากาก คำแนะนำในการปฏิบัติตัว เป็นต้น
  3. ควบคุมดูแล การจัดชั้นเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ถ้าเป็นไปได้ให้มีระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร หรือเหลื่อมเวลาในการพักรับประทานอาหารกลางวัน

 

นักเรียน

  1. ต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง ถ้ามีไข้ ไอ จาม เป็นหวัด หายใจเหนื่อยหอบ แจ้งผู้ปกครองให้พาไปพบแพทย์และหยุดเรียนจนกว่าอาการจะหายดี ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการหวัด มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก
  2. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำบ่อยๆ ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม และหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัส ใบหน้า ตาปาก จมูก โดยไม่จำเป็น อาบน้ำทันทีหลังกลับจากโรงเรียน หลังเล่นกับเพื่อน และหลังกลับจากนอกบ้าน
  3. ให้นักเรียนเลือกกินอาหารปรุงสุกใหม่ โดยใช้อุปกรณ์ส่วนตัว เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม นักเรียนควรมีอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัวเฉพาะบุคคล เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟัน ฯลฯ
  4. หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัดหรือ สถานที่ที่มีการรวมกันของคนจำนวนมาก หากจำเป็นควรสวมหน้ากากอนามัย ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหาร ครบ 5 หมู่ และผัก ผลไม้5 สีเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ออกกำลังกายอย่างน้อย 60 นาทีทุกวัน และนอนหลับ ให้เพียงพอ 9-11 ชั่วโมง/วัน
  5. ให้รักษาระยะห่าง การนั่งเรียน นั่งรับประทาน อาหาร เล่นกับเพื่อน อย่างน้อย 1 เมตร

 

ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก

  1. หากบุตรหลานมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบให้พาไปพบแพทย์และหยุดเรียน จนกว่าอาการจะหายดี หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยงและอยู่ใน ช่วงกักกัน ให้หยุดเรียน 14 วัน และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ กรณีมีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคโควิด-19 หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยงและอยู่ในช่วงกักกัน ให้ปฏิบัติตาม คำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
  2. ให้สมาชิกในครอบครัวล้างมือด้วยสบู่และน้ำ ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม และหลีกเลี่ยงการใช้ มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น และสร้างสุขนิสัยให้บุตรหลานอาบน้ำหลังกลับจากโรงเรียน หลังเล่น กับเพื่อน และหลังกลับจากนอกบ้าน
  3. หมั่นทำความสะอาดเครื่องเล่น ของเล่น ด้วยน้ำยา ทำความสะอาดทั่วไป และไม่พาบุตรหลานไปในสถานที่แออัดหรือสถานที่ ที่มีการรวมกันของคนจำนวนมาก หากจำเป็นควรให้สวม หน้ากากอนามัย
  4. จัดเตรียมอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ส่งเสริมให้บุตร หลานกินอาหารครบ 5 หมู่ และผักผลไม้5 สี ที่สะอาด ปลอดภัยจากสารพิษ อย่างน้อยวันละ 5-4 ขีด (ตามวัย) เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ออกกำลังกายอย่างน้อย 60 นาที ทุกวัน และนอนหลับให้เพียงพอ 9-11 ชั่วโมงต่อวัน

อ้างอิงข้อมูลจาก : คู่มือการจัดการโรงเรียน รับมือโควิด-19

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2ULQmEz

 

 

 

Categories: บทความ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
All search results